Rippling หรือ ซิลิโคนเป็นคลื่น คืออะไร? ทำไมถึงเป็นหลัง ทำนม
ปัจจุบันการ เสริมหน้าอก เป็นที่นิยมอย่างมาก และถือเป็นเรื่องปกติที่คนให้ความสนใจ เนื่องจากเทคโนโลยีมีความทันสมัยทำให้มีเทคนิคการผ่าตัดพัฒนาที่มากขึ้น แต่รู้หรือไม่ว่าทุกการศัลยกรรมอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงตามมาในภายหลัง และสำหรับสาวๆ คนไหนที่เสริมหน้าอกแล้วเกิดปัญหา Rippling หรือ ซิลิโคนเป็นคลื่นริ้ว
หากพบเจอปัญหานี้แน่นอนว่าจะทำให้คุณหมดความมั่นใจไปเลยก็ได้ แต่วันนี้ทาง Bujeong Clinic จะมาเผยสาเหตุ พร้อมบอกเคล็ดลับการดูแล เมื่อเกิดรอยคลื่นริ้วบนซิลิโคนสำหรับคนเสริมหน้าอก เพื่อเสริมความมั่นใจให้กับสาวๆ รับรองว่าวิธีรับมือง่ายนิดเดียว!
Rippling หรือ รอยคลื่น คืออะไร
ภาวะ Rippling หรือ นมเป็นคลื่น คือ การเกิดรอยย่นบริเวณขอบถุงซิลิโคน มีลักษณะเป็นคลื่นริ้ว เมื่อสัมผัสแล้วรู้สึกได้ถึงความขรุขระของผิว ไม่เรียบเนียน แม้ว่าปัญหานี้จะไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย แต่ก็ทิ้งความไม่มั่นใจให้กับสาวๆ หลายคน ซึ่งปัญหานี้ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นกับผู้ที่มีรูปร่างผอมแล้วต้องการเสริมหน้าอกขนาดใหญ่ เนื่องจากมีโครงสร้างของผิวหนังบาง จึงทำให้เนื้อของเต้านมไม่เพียงพอต่อการปกปิดรอยย่นของซิลิโคน จึงทำให้มองเห็นผิวเป็นคลื่นบริเวณที่เสริมหน้าอก
แต่ปัญหานี้ไม่ได้เกิดขึ้นกับผู้ที่มีรูปร่างผอมเท่านั้น เพราะสามารถเกิดขึ้นได้จากความไม่พอดีของโพรงกับขนาดซิลิโคนก็ได้เช่นเดียวกัน เมื่อระยะเวลาผ่านไปและมีการหดรัดของโพรงมากขึ้น จะส่งผลให้โพรงบีบซิลิโคนจนเกิดเป็นคลื่นริ้ว ปัญหานี้มักเกิดขึ้นในระยะยาวสำหรับผู้ที่มีน้ำหนักปกติ และสำหรับใครที่เสริมซิลิโคนขนาดพอดีตัวก็สามารถเกิดรอยย่นได้ แต่รอยนี้จะไม่สามารถมองเห็นจากภายนอก เนื่องจากมีเนื้อเต้านมหนาพอที่จะปิดบังรอยย่นของซิลิโคน
สาเหตุที่ทำให้เกิดรอยบริเวณขอบถุงเจล เพราะซิลิโคนที่ใช้สำหรับการ เสริมหน้าอก ในยุคก่อน ถูกผลิตให้มีเจลบรรจุอยู่ภายใน 93% เหตุผลที่บรรจุเจลไม่เต็มก็เพื่อคงความนิ่มของซิลิโคนเอาไว้ ดังนั้นการเสริมซิลิโคนจึงสามารถพบรอยย่นได้ทุกอัน ถ้าหากใครมีเนื้อหน้าอกที่หนาพอก็จะช่วยปิดรอยเหล่านี้ได้
สาเหตุของการเกิดรอยย่น Rippling
โดยสาเหตุหน้าอกเกิดรอยย่น เป็นคลื่นริ้ว นอกเหนือจากโครงสร้างของผิวหน้าอกบางแล้ว ยังมีสาเหตุอื่นๆ ที่ผู้เสริมหน้าอกต้องทำความเข้าใจ ดังนี้
- เกิดจากสภาพร่างกายของผู้เข้ารับบริการ เช่น ผิวหน้าอกบาง เนื้อหน้าอกน้อย
- เลือกใช้ซิลิโคนที่มีขนาดใหญ่เกินไป
- ขึ้นอยู่กับเทคนิคการผ่าตัด เช่น การใส่ซิลิโคนแบบเหนือกล้ามเนื้อในผู้ที่มีผิวหน้าอกบาง
- มีการเลาะโพรงหน้าอกแคบเกินไป ทำให้โพรงเกิดการบีบรัดซิลิโคนจนเป็นริ้ว
- คุณภาพของซิลิโคนที่ใช้ในการเสริมหน้าอกไม่ผ่านมาตรฐานการรับรอง เช่น เจลในถุงซิลิโคนเหลวเกินไป
- เนื้อสัมผัสของผิวซิลิโคน จากงานวิจัยทางการแพทย์พบว่า Texture ของถุงซิลิโคนผิวทราย มีโอกาสเกิดคลื่นริ้วได้มากกว่าซิลิโคนผิวเรียบ
ส่วนใหญ่การเกิดริ้วจะเกิดขึ้นบริเวณขอบด้านบนของซิลิโคน เนื่องจากโครงสร้างของเนื้อเต้านมด้านบนจะน้อยกว่าด้านล่าง จึงทำให้หน้าอกด้านบนมีผิวที่บาง และเกิดซิลิโคนเป็นคลื่น หรือในบางจุดอาจคลำแล้วเจอขอบของซิลิโคนชัดเจน ซึ่งนอกเหนือจากสาเหตุหลักๆ ในข้างต้น ปัญหาดังกล่าวยังสามารถเกิดขึ้นได้จากการเสื่อมสภาพของซิลิโคน ซึ่งหัวข้อถัดไปทางพูจองคลินิก ได้รวบรวมวิธีการป้องกันและการแก้ไขปัญหา เพื่อทางเลือกที่ดีสำหรับคุณ ซึ่งจะมีอะไรบ้างเราไปดูพร้อมๆ กันเลย!
มีวิธีป้องกัน และ แก้ไขอย่างไร?
อย่างที่บอกไปว่าการเกิด Rippling นั้นไม่มีอันตราย แต่อาจทำให้เกิดความหงุดหงิด และไม่มั่นใจเวลาใส่เสื้อผ้า ซึ่งในหัวข้อนี้ทางเราได้รวบรวมเคล็ดลับการป้องกัน และ วิธีแก้ไข เพื่อเป็นแนวทางสำหรับผู้ที่เกิดความกังวลใจกับปัญหา ซิลิโคนเป็นคลื่น ดังนี้
- เลือกซิลิโคนที่มีขนาดเหมาะสมกับสรีระร่างกาย และเนื้อหน้าอกเดิม
- สำหรับผู้ที่มีผิวหน้าอกบาง ควรเลือกใช้เทคนิคเสริมซิลิโคนใต้กล้ามเนื้อแบบ Dual Plane แทนการเสริมเหนือกล้ามเนื้อ
- แผลผ่าตัดต้องไม่เล็กจนเกินไป เพื่อให้โพรงไม่บีบรัดซิลิโคน
- หากเกิดคลื่นริ้วเพียงเล็กน้อย สามารถแก้ไขด้วยวิธีการเพิ่มน้ำหนัก
- หากเกิดคลื่นริ้วมาก สาเหตุเกิดจากการใส่ซิลิโคนใหญ่เกินไป และไม่สามารถเพิ่มน้ำหนักได้ ศัลยแพทย์จะแนะนำให้ เสริมหน้าอก ด้วยเทคนิค Hybrid หรือการเติมไขมันของตนเองเข้าไป เพื่อเพิ่มปริมาณของผิวบริเวณหน้าอก หรือ ผ่าตัดเพื่อลดขนาดของซิลิโคนให้เล็กลง
- หมั่นนวดหน้าอกเป็นประจำเพื่อขยายโพรงหน้าอก ป้องกันไม่ให้โพรงเกิดการหดรัด
- เลือกใช้ซิลิโคนที่ผ่านการรับรองมาตรฐานจากองค์การอาหารและยาของสหรัฐอเมริกา (FDA) และคลินิกเสริมความงามที่เลือกใช้บริการ ก็ต้องผ่านมาตรฐานการรับรองด้วยเช่นเดียวกัน
ทั้งนี้การรักษาจะขึ้นอยู่กับสาเหตุที่เกิดขึ้น อย่างเช่น คนไข้มีโครงสร้างผิวบาง และใส่ซิลิโคนอยู่เหนือกล้ามเนื้อ ต้องได้รับการแก้ไขโดยเปลี่ยนมาใส่ซิลิโคนใต้กล้ามเนื้อแทน และถ้าถุงซิลิโคนมีการรั่วซึม จำเป็นต้องเปลี่ยนซิลิโคนให้มีคุณภาพมากขึ้น และอีกหนึ่งสาเหตุที่มักเกิดขึ้นในผู้ที่เสริมหน้าอกมาเป็นเวลานาน คือ การเกิด Capsular Contracture หรือ พังผืดรัดถุงซิลิโคน สามารถทำการรักษาโดยการผ่าตัดเพื่อเลาะพังผืดออก เพื่อขยายโพรงให้กว้างขึ้น ซึ่งวิธีการรักษาเหล่านี้จะช่วยให้โอกาสในการเกิดริ้วคลื่นของซิลิโคนลดน้อยลง
ข้อแนะนำหลังเสริมหน้าอก
เป็นอย่างไรกันบ้างสำหรับข้อมูล และ วิธีป้องกันการเกิดรอยคลื่นของซิลิโคน หากใครที่กำลังเกิดปัญหาเหล่านี้ไม่ต้องกังวลใจไป เมื่อคุณทำตามวิธีแก้ไขในข้างต้นก็สามารถรับมือกับปัญหาเหล่านี้ได้ง่ายๆ หลังจากนั้นต้องหมั่นดูแลซิลิโคนของคุณเพื่อยืดอายุการใช้งานให้นานยิ่งขึ้น
ในกรณีที่เสริมหน้าอกไประยะหนึ่งแล้วเกิดปัญหา ไม่ว่าจะเป็น การคลำแล้วเจอขอบซิลิโคน หรือ สังเกตเห็นซิลิโคนเป็นริ้วชัดเจน ปัญหาเหล่านี้เราสามารถแก้ไขได้ โดยสิ่งสำคัญที่สุด คือ ควรเข้ามาปรึกษาแพทย์เพื่อทำการตรวจวิเคราะห์ถึงสาเหตุ เพื่อการผ่าตัดแก้ไขที่ง่ายยิ่งขึ้น
หากท่านใดที่ต้องการแก้ไขหน้าอก ขอแนะนำช่วงเวลาที่เหมาะสม คือ 6 เดือน ถึง 1 ปี ขึ้นไปหลังผ่าตัดครั้งแรก ยกเว้นกรณีที่เกิดอาการแทรกซ้อนอย่างรุนแรง แนะนำว่าต้องปรึกษาแพทย์เพื่อเข้ารับการรักษาในทันที
เสริมหน้าอก กับ Bujeong Clinic รับรองความปลอดภัย ซิลิโคนไม่เป็นคลื่น!
Bujeong Clinic (ศูนย์ศัลยกรรมพูจองคลินิก) เป็นคลินิกเสริมความงาม ที่ให้บริการศัลยกรรม และ หัตถการ ด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย และ มาตรฐานความปลอดภัย โดยทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ทั้งแพทย์ไทย และ แพทย์เกาหลี ที่มากด้วยประสบการณ์ ที่พร้อมจะเนรมิตให้คุณสวยแบบที่ต้องการ นอกจากนั้นแล้วพูจองคลินิกยังมีสาขาให้เลือกมากมายถึง 10 สาขา ทั้งในกรุงเทพ และ ต่างจังหวัด เพราะความสวยไม่รอใคร อยากสวยเลือกทำที่ Bujeong Clinic !
มั่นใจ ปลอดภัย และ ได้มาตรฐาน พูจองคลินิกส่งตรงความงาม แบบฉบับเกาหลี
สามารถติดตาม Bujeong Clinic สำหรับเสริมความงาม ช่องทางต่างๆ เพิ่มเติมได้ที่นี่
Facebook : Bujeong Clinic – พูจอง คลินิก
Line : @Bujeong-Clinic
Tel : 088-050-1111
สามารถติดตาม Bujeong Clinic Surgery Center สำหรับศัลยกรรม ช่องทางต่างๆ เพิ่มเติมได้ที่นี่
Facebook : Bujeong surgery center
Line : @bujeongsurgery
Tel : 061-042-2999